วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

CALL (Computer-Assisted-Language-Learning in each phrase)


1. Behaviorist CALL

ถูกนำมาใช้ในปี 1950 และเป็นที่รู้จักในปี 1960 เมื่อนำมาใช้ในการสอนภาษา (audio-lingual method) กันอย่างแพร่หลาย โดยส่วนใหญ่โปรแกรม CALL นำมาฝึกทักษะต่าง ๆ ในภาษา


 2. Communicative CALL

ต่อมาโปรแกรม CALL มีการพัฒนาโปรแกรมซึ่งจะเน้นการใช้ CALL มากว่าที่จะเน้นวิเคราะห์รูปแบบภาษา ตามที่ Warschauer (1997) เคยทำไว้ก่อนหน้าคือ แบ่งนักเรียนที่เก่งและนักเรียนที่อ่อนทักษะทางภาษาโดยการใช้แบบฝึกหัด แต่จะต่างกันตรงที่คอมพิวเตอร์จะแบ่งเนื้อที่ใช้สอนสำหรับนักเรียนเองจึงใช้ไวยากรณ์มาสอนและอนุญาติให้นักเรียนคำตอบด้วยตัวเอง คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นที่จะช่วยการต่อยอดและการเขียนของนักเรียนผ่านเกมการแสดงบทบาทสมมุติ


 3.Integrative CALL

การประยุกต์โปรแกรม CALL เริ่มต้นในปี 1990 เป็นรูปแบบการบูรณาการสอนภาษาในการติดต่อสื่อสารรวมทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน (ฮับบาร์ด, 2009)
ในขั้นตอนนี้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นเสมือนเครื่องมือในการเรียนการสอนเนื้อหาและช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ภาษาได้จริง ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่ิอกลางในการเรียนการสอนฝึกทักษะภาษาให้แก่นักเรียน เป็นอีกหนึ่งที่ช่องทางที่นักเรียนสามารถศึกษานอกห้องเรียนได้ ทั้งนี้ควรที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้วีธีการใช้สื่อเหล่านี้มากกว่าแค่การให้นักเรียนไปเรียนในห้องแล็บภาษาแค่สัปดาห์ละครั้ง


วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Studies on CALL in the Thai Context

การเรียนโดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเรียนภาษา (CALL) ในประเทศไทย
โปรแกรม CALLป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ด้วยความหวังที่จะปรับปรุงความชำนาญ  ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยให้ดีขึ้น  ประโยชน์ของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา โดยมันช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่มีอิสรภาพ แต่อย่างไรก็ตาม มีบางปัญหาเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษาเกิดขึ้น เช่น เวลาที่ใช้ในการโหลดโปรแกรมแต่ผู้บริหารการศึกษาควรจะสนับสนุนการใช้และการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา เพื่อการเรียนรู้อย่างมีอิสรภาพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียน.

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา CALL

                    ลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา หรือCALL (Computer-assisted language learning program) เป็นโปรแกรมช่วยเรียนภาษาเป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษามีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมช่วยการสอน หรือ CAI คือ มีการเสนอเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง มีการถามการตอบ มีการแนะนำและอธิบายแต่จะกว้างกว่า CALL เพราะ CAI บอกให้ทราบว่าเป็นโปรแกรมช่วยการสอนเท่านั้น ส่วนจะสอนวิชาใดบ้างก็แล้วแต่ผู้สร้างโปรแกรม
แต่ CALL หมายถึงโปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ดวยตนเอง (Self-access learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจมอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์

ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน



1.ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ และมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันที
2.ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามต้องการ
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการนำเสนอภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้
4.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เร็ว
5.ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เนื่องจากได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
6.สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
7.ทำให้ครูมีเวลาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้มากขึ้น
8.ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนชนบท
9.ประหยัดเวลาลังบประมาณในการจัดการเรียนการสอน
           10.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง แก้ปัญหาและฝึกคิดอย่างมีเหตุผล

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
                   1. สารสนเทศ (Information) 
หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
                   2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) 
การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
                   3. การโต้ตอบ (Interaction) 
คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
                   4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) 
ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

CAI คืออะไร ?????


คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI)
เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์
ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน
แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
นอกจากคำว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว ยังมีคำศัพท์อีกหลายคำที่เกี่ยวข้องกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการศึกษาแต่มีความหมายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของการนำมาใช้ได้แก่


-คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI : Computer Assisted Leaning )
-คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนภาษา ( CALL : Computer Assisted Language Learning)
-การสอนการอบรมที่อาศัยคอมพิวเตอร์( CBT :Computer Based Training Teaching )
-การเรียนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก (CBL: Computer Based Instruction Learning)
-การสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ( CBI : Computer Based Instruction)
-การใช้คอมพิวเตอร์จัดการในการสอน (CMI : Computer Managed Instruction )

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

การประเมินผลโครงงานภาษาอังกฤษ

การประเมินผลโครงงานภาษาอังกฤษ

1 ชิ้นงาน
2 รายงาน
3 สอบปากเปล่า
4 การจัดนิทรรศการ
5 การนำเสนอ
6 แบบบันทึก

WHAT IS THE STUDY LIKE?


WHAT IS THE STUDY LIKE?

             จุดประสงค์คือการให้โอกาสแก่นักเรียนที่จะดึงความสามารถและพัฒนาทักษะทางการสื่อสารออกมา ซึ่งจะเน้นย้ำมากในเรื่องการใช้สื่อผสมและการใช้Power Point และต้องบูรณาการเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์สู่การฝึกทักษะต่างๆ ทางภาษา บรรยากาศห้องเรียนแบบCALLนั้น ครูจะจัดตั้งระบบ E-Learningไว้ ผู้เรียนจะต้องแจ้งงาน, แสดงความคิดเห็น ตรวจทาน ในรายงานของกลุ่มอื่นๆ, การใช้จดหมายอิเล็กซ์ทรอนิกส์, การสนทนาออนไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่จะได้รับอย่างมากมายกว่าแหล่งข้อมูลอื่น

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

ทำความรู้จัก Adobe Captivate

 
โปรแกรม Adobe Captivate เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการสร้าง Movie ในรูปแบบสื่อเรียนการเรียนรู้ หรือสื่อการนำเสนอแบบมัลติมีเดีย เช่น การนำเสนอผลงาน การจับหน้าจอภาพเพื่อนำไปสร้างสื่อการเรียนรู้ การสร้างแบบทดสอบ รวมไปถึงการตัดต่อวิดีโอ เพื่อใช้สำหรับงานนำเสนอหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ โดยโปรแกรม Adobe Captivate เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างชิ้นงานได้ง่ายและเร็ว
จุดเด่นของโปรแกรม Adobe Captivate
-                    สร้างสื่อเรียนรู้หรือสื่อนำเสนอมัลติมีเดียได้อย่างง่ายดาย
-                    ตัดต่อวิดีโอได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
-                    สร้างสื่อเรียนรู้โดยการจับหน้าจอภาพ (Screen capture movie) ประกอบเสียงบรรยาย เหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
-                    สร้างแบบทดสอบได้ง่าย
-                    นำเข้าไฟล์จากแหล่งต่างๆ ได้หลากหลาย
·         ไฟล์รูปภาพ (Image) เช่น JPG, BMP, GIF
·         ไฟล์เสียง (Sound) เช่น MP3, WAV
·         เสียงบรรยายผ่านไมโครโฟน
·         ไฟล์วิดีโอ (Video) เช่น AVI

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Computer Assisted Language Learning (CALL) in Each Phases



CALL หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการสอนภาษา มีวิวัฒนาการการพัฒนาออกเป็น3 ยุคหลักๆ ดังต่อไปนี้

1.Behaviorist CALL เป็นยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งการใช้อย่างแพร่หลายในราวคริสตศักราช 1960 และ 1970 การเรียนการสอนยังคงเป็นรูปแบบของการฝึกซ้ำๆ ภายใต้หลักการของการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ขึ้นอยู่กับทฤษฏีทางพฤติกรรมในการเรียนรู้ ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ก็มีฮาร์ดแวร์พิเศษเฉาะ อันได้แก่ แบบฝึกหัดเกี่ยวกับแบบฝึกหัด คำอธิบายไวยากรณ์อย่างย่อ และข้อสอบการแปล

2.Communicate CALL ขึ้นอยู่กับทฤษฏีการสอนแบบ Communicative Teaching Approaches เริ่มต้นขึ้นราวคริสตศักราช1970และต้นคริสตศักราช1980 การสอนในรูปแบบนี้นั้นเน้นการส่งเสริมการสนทนาในสถานการณ์และบริบทจริง ซึ่งในรูปแบบแรกนั้นคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนครูสอนพิเศษทีให้ทางเลือก ควบคุม และการบูรณาการณ์ อีกเป็นทั้งผู้กระตุ้นความสนใจและเป็นเครื่องมือแก่ผู้เรียนไปพร้อมๆกัน ต่อมานักเรียนเกิดการเข้าใจและใช้ภาษาผ่านโปรแกรม Word Processing, Spelling และGrammar Checking เป็นต้น

3. Integrative CALL ปรากฏขึ้นราวปลายคริสตศักราช1980 และต้นปี1990 การเรียนการสอนยุคนี้มีคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ตมาเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาในการบูรณาการณ์ทักษะทางภาษาทั้งสี่เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งทำให้บรรยากาศการเรียนภาษาของนักเรียนนั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีความสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันที่ให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และอุปกรณ์การเรียนอยู่ตลอดเวลา ต่อไปก็คงไม่เป็นที่น่าแปลกใจมากนักที่เห็้นการเรียนแบบ EFL อาจใช้กระบวนการเรียนแบบCALL ก็ได้ในอนาคตอันใกล้

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Project Base Learning



-แนวจัดการศึกษา

มาตรา22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผุ้เรียนสำคัญที่สูด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสรืิมให้ผู้เรียนพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

Learning by doing ถ้าอยากจะเรียนรู้สิ่งไหนก็ต้องทำมันด้วยตนเอง ยุคศัตวรรษที่21 คิดวิเคราะห์ ทำงานเป็นกลุ่ม และในที่สุดชิ้นก็จะเป็นชิ้นงานที่ดี มีคุณภาพสูง



-ประเภทของโครงงานภาษาอังกฤษ

1. โครงการค้นคว้าข้อมูล

2.โครงการสำรวจ

3.โครงการทดลอง (บูรณาการ)

4.โครงการแสดง

5.โครงการสิ่งประดิษฐ์/ผลผลิต


ข้อดีของโครงงานภาษาอังกฤษ

นักเรีนสามารถที่จะเลือกจะเรียน ในสิ่งที่เขาต้องการ ได้เกิดการทำงานร่วมกัน เรียนรู้จาการปฏิบัติจริง และพัฒนาขีดความสามารถ



-เค้าโครงงานภาษาอังกฤษ

1.หัวข้อโครงงงาน (title)

2.ชื่อผู้ทำโครงงาน (Author)

3.ชื่อที่มาของโครงงาน (Adviser)

4.ที่มาของปัญหา (Statement of the problem)

5.วัตถุประสงค์ของโครงงาน (Objective)

6.วิธีดำเนินงาน (Process)

7.ผลที่คาดว่าจะไดด้รับ (Expected Result)

8.เอกสารอ้างอิง (Reference)



-การประะเมิณโครงงานภาาาอังกฤษ

1.ช้้นงาน

2.รายงาน

3.สอบปากเปล่า

4.การจัดนิทรรศการ

5.การนำเสนอ

6.แบบบันทึก







วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Whole Language Approach

เป็นการสอนภาษาโดยภาพรวม เการรียนรู้การใช้ภาษาเป็นองค์รวมโดยไม่แยกกิจกรรมการอ่าน การเขียน การพูด และการฟังออกจากกัน สร้างบรรยากาศการเรียนรู้การอ่านจากผลงานการเขียน เรียนรู้การเขียนจากการอ่าน เรียนรู้ภาษาจากสภาพแวดล้อม วรรณกรรมและการเลียนแบบ กระตุ้นให้เด็กแสดงการสื่อสารผ่านกระบวนการคิดตลอดเวลาและใช้ภาษาจากแรงจูงใจภายในไม่ใช่การบังคับ ส่งเสริมให้เด็กกล้าพูด กล้าอ่าน และกล้าเขียน

Communicative Language Teaching - CLT

        เป็นการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เป็นการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของตัวผู้เรียนจัดลำดับการเรียนรู้เป็นขั้นตอนตามกระบวนการใช้ความคิดของผู้เรียน


กิจกรรมที่ใช้ในการสอน

- Information Gap Activities 
Jigsaw Activities  
Accuracy and Fluency activities 

Total Physical Response Method


 หลักการสำคัญ   
    
    1. ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ "กำกับ" และผู้เรียนจะทำหน้าที่เป็นผู้ "แสดง"
    2. เน้นทักษะการฟังและท่าทาง
    3. ใช้ประโยคคำสั่ง และคำถาม
    4. เน้น ไวยากรณ์ คำศัพท์ และ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

ขั้นตอนการสอน:

    1. ครูจะออกคำสั่งเป็นภาษาเป้าหมาย และแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง
    2. หาอาสาสมัคร มาแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง
    3. ครูออกคำสั่งใหม่ที่ผู้เรียนไม่เคยได้ยินมาก่อนหรือครูเขียนคำสั่งนั้นบนกระดาน

เทคนิคการสอน:

    1. ใช้คำสั่ง(คำสั่งที่ใช้ต้องมีลำดับขั้นตอน)และแสดงตัวอย่างให้ดู
    2. สลับบทบาท
     

Thinking Skills




  ข้อสรุปเกี่ยวกับทักษะการคิดของเบนจามิน บลูม มีดังนี้

1.     Knowledge (ความรู้)
2.     Comprehension (ความเข้าใจ)
3.     Application (การประยุกต์ใช้)
4.     Analysis (การวิเคราะห์)
5.     Synthesis (การสังเคราะห์)
6.     Evaluation (การประเมินผล)

  Anderson & Krathwonl ได้เสนอแนวคิดทักษะการคิดฉบับแก้ไขของบลูม ไว้ดังนี้
1.     Remembering (การจำ)
2.     Understanding (ความเข้าใจ)
3.     Applying (การประยุกต์ใช้)
4.     Analyzing (การวิเคราะห์)
5.     Evaluating (การประเมินผล)
6.     Creating (การสร้างสรรค์)   


Cooperative Learning



หลักการสำคัญ


1.     เน้นให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม    
2.   ความพยายามของแต่ละบุคคลในการช่วยเหลือไม่เพียงแต่ตัวบุคคลนั้นที่จะได้รับผลตอบแทน แต่บุคคลอื่น ๆ ในชั้นยังได้รับด้วย
3.     มีการสอนเรื่องทักษะทางสังคม
4.     การเรียนภาษาจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนใช้ภาษาเป้าหมาย
5.     ผู้เรียนต้องรับผิดชอบงานของตนเอง
6.     มีการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม
7.     ครูกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มมีความรับผิดชอบ และส่งเสริมภาวะการเป็นผู้นำให้กับนักเรียน

Community language learning - CLL


หลักการสอนที่สำคัญมีดังนี้
  • การแปล (translation) ผู้เรียนนั่งเป็นวงกลม ผู้เรียนพูดข้อความที่ต้องการจะแสดงความคิดหรือความรู้สึก ผู้สอนแปล ข้อความนั้นผู้เรียนพูดตามผู้สอน 
  • การทำงานกลุ่ม (group work) ให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีการกำหนดหัวข้อแล้วร่วมกันอภิปรายช่วยกันเตรียมบทสนทนา เตรียมเรื่องที่จะพูดหน้าชั้น เป็นต้น 
  • การบันทึกเสียง (recording) บันทึกเสียงของคนในขณะที่พูดภาษาเป้าหมาย
  • ถอดความ (transcription) ถอดคำพูดหรือบทสนทนาที่บันทึกไว้ สำหรับฝึกและวิเคราะห์โครงสร้างภาษา 
  • วิเคราะห์ (analysis) ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างภาษาความหมายของคำวลีประโยค ที่ถอดจากเทป 
  • สะท้อนกลับ/ตั้งข้อสังเกต (reflection/observation) นักเรียนรายงานความรู้สึกและประสบการณ์และอื่น ๆ 
  • การฟัง (listening) ฟังครูอ่านบทสนทนา 
  • สนทนาอย่างอิสระ (free conversation) นักเรียนสนทนากับเพื่อนหรือครู อาจเป็นการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก 

Suggestopedia


วิธีการสอนแบบนี้เป็นวิธีที่ครูต้องมีทักษะ ในการร้องเพลงแสดงท่าทาง และรู้เทคนิคการบำบัดทางจิตวิทยา (psychotherapeutic techniques) วิธีการสอนจะใช้เทคนิคการออกกำลังกาย เพื่อขจัดความวิตกกังวลที่เป็นเหตุให้สะกัดกั้นการเรียนรู้ของผู้เรียนกิจกรรมต่างๆดังกล่าวประกอบด้วยการใช้ดนตรี รูปภาพ (visual image) บทสนทนาต่าง ๆ ที่ให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเหล่านี้ภายใต้บรรยากาศที่สบายไม่เป็นทางการไม่มีการแก้ไข ข้อผิดพลาดของผู้เรียน นอกจากนั้น วิธีสอนแบบนี้เน้นกิจกรรมการฟัง ซึ่งก็คือ ผู้สอนจะใช้ภาษาสนทนา ที่มีคำแปลเป็นภาษาถิ่นรวมทั้งไวยากรณ์และคำศัพท์จากบทสนทนาไว้ด้านหนึ่งด้วย
 

The Silent Way


วิธีสอนแบบเงียบ   เป็นวิธีสอนที่ริเริ่มโดย Caleb Gattegno ในปี ค.ศ. 1963 วิธีสอนแบบนี้มิได้เกิดจากวิธีสอนแบบความรู้ความเข้าใจ แต่มีบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น หลักการพื้นฐานที่ว่า "การสอนเป็นรองการเรียน" เป็นหลักการที่เน้นความรู้ความเข้าใจ                 การออกแบบการเรียนการสอนจะให้นักเรียนรู้จักโครงสร้างของภาษาและคำ จุดสำคัญของวิธีนี้คือครูจะเงียบซึ่งโดยปกติแล้ว ครูจะแนะนำศัพท์หรือประโยคใหม่แล้วให้ผู้เรียนฝึกร่วมกัน โดยที่ครูไม่เข้าไปแก้ไขข้อผิดพลาดเพราะมีความเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญถ้าผู้เรียนรู้ตัวว่าตัวเองทำอะไร และรับผิดชอบในสิ่งที่กำลังทำอยู่จะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน

Audio-Lingual Method


เป็นการสอนตามหลัก ภาษาศาสตร์หลักธรรมชาติ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน สอนครบองค์ประกอบตามลำดับจากง่ายไปหายาก

หลักของวิธีนี้ มีอยู่ว่า
     
     1. สื่อบทสนทนา
     2. การท่องจำ การเลียนแบบ และ overleaening
     3. การวิเคราะห์โครงสร้างของประโยคก่อนนำมาสอน
     4. สอนโครงสร้างไวยากรณ์ และการฝึกแบบซ้ำๆ
ขั้นตอนการสอน
  • นักเรียนฟังบทสนทนา
  • ฝึกฝนการใช้ประโยค
  • ฝึกฝนบทสนทนา พร้อมกันทั้งชั้น, เป็นกลุ่ม, รายบุคล
  • ปรับเปลี่ยนใส่ข้อมูลของตนเองในบทสนทนา
เทคนิคการสอน
     1. Backward Built-up Drill
     2. Repetition drill (การฝึกแบบซ้ำๆ)
     3. การฝึกโครงสร้างประโยดเดิม แล้วถามเพื่อนต่อไปเรื่อย ๆ
     4. การฝึกเปลี่ยนคำในประโยคแค่คำเดียว
     5. การฝึกเปลี่ยนคำในประโยคหลายคำ


Direct Method

เป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการฟัง และพูดให้เกิดความเข้าใจก่อน แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ไม่เน้นไวยากรณ์มากนัก บทเรียนส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมการสนทนา นักเรียนได้ใช้ภาษาเต็มที่


หลักการสำคัญของวิธีนี้

     1. การเรียนการสอนจะใช้ภาษาเป้าหมายเท่านั้น
     2. เน้นคำศัพท์และประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
     3. สอนแกรมม่า แบบ Inductive
     4. สอนคำศัพท์ แบบทำให้เห็นภาพ อาจใช้การสาธิต สิ่งของ รูปภาพ มาประกอบ
     5. สอนฟัง และพูด
     6. เน้นการออกเสียง และแกรมม่า ให้ถูกต้อง

Grammar Translation


หลักของวิธีนี้
  • เป้าหมายของการเรียนคืออ่านออกเขียนได้ สามารถแปลประโยคเป็นภาษาเป้าหมายได้ 
  • เน้นการอ่านและเขียนเป็นหลัก ( ไม่เน้นฟังและพูด) 
  • ท่องจำคำศัพท์ 
  • เรียนหลักไวยากรณ์ 
  • เน้นความถูกต้อง 
  • ใช้ภาษาแม่ในการสอน 
เทคนิคการสอน
  • แปลบทวรรณกรรม 
  • อ่านและตอบคำถาม 
  • คำศัพท์ เหมือน และ ต่าง 
  • การสอนแบบ deductive 
  • เติมคำในช่องว่าง 
  • ท่องจำคำศัพท์ 
  • แต่งประโยค 

A BRIEF HISTORY OF LANGUAGE TEACHING


         ได้มีการสอนภาษาเริ่มต้นจากการสอนภาษาละติน เมื่อ 500 ปีมาแล้ว ต่อมาในศตวรรษที่ 16 ภาษาละตินก็ถูกแทนที่ด้วยภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ในเริ่มแรกนั้นจะสอนโดยเน้นการท่องจำเนื้อหา และโครงสร้างเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า Grammar school's ภาษาที่ใช้ในการสอนก็จะเป็นภาษาละติน 

      Grammar translation method ก็จะเน้นการเรียนหลักไวยากรณ์ เน้นการแปล อ่าน และเขียน ท่องจำคำศัพท์ ใช้การสอนแบบ deductive 

      ในยุคต่อมาคือยุคก่อนการปฎิรูป ( Pre-reform movement )
  •  The French man C. Marcel <1973-1896>จะสอนภาษาแม่ของนักเรียนเชื่อมต่อกับภาษาเป้าหมาย เน้นทักษะการอ่าน
  • The Englishman T. Prendergast <1806-1880>  ได้ทำการสังเกตและบันทึกนักเรียน พบว่า เด็กใช้บริบทและสถานการณ์ เข้ามาช่วยในการจำ
  • The Frenchman F. Gouin < 1831-1896>  Gouin Series  คือ การสอนสิ่งใหม่ในบริบท ใช้ท่าทางเข้ามาช่วย ไม่มีการแปล ไม่อธิบายแกรมม่า เน้นความเชื่อมโยงของประโยคต่าง ๆ
       หลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุดปฎิรูป ( The reform movement 
            เน้นการพูด ฝึกออกเสียงให้ถูกต้อง ใช้ Conversation and Dialogues สอนแกรมม่าแบบ Inductive( สอนตัวอย่าง ตามด้วนโครงสร้าง ) เชื่อมโยงกับภาษาเป้าหมาย สอนจากง่ายมายาก สอนทุกทุกทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน   เริ่่มมี IPA หรือ  International Phonetic Alphabet.
ซึ่งนักปฏิรูปเชื่อกันว่า

1.     ภาษาพูดเป็นภาษาหลัก
2.     การออกเสียงในการสอนและการฝึกอบรมครู
3.     ผู้เรียนควรจะเรียนรู้การฟังก่อนที่จะได้เห็นภาษาในรูปแบบของการเขียน
4.     คำที่นำเสนอในประโยคและฝึกความหมายในบริบท
5.     สอนไวยากรณ์โดยวิธีอุปนัย


Eyes On English



In: English Teaching Forum 2011, Volume 49, Number 3Format(s): Text
The author discusses a school-wide campaign to promote the use of English. This six-week campaign, called Eyes on English, was created for Early Childhood and Elementary divisions, but is noted to be flexible for other grade levels. Throughout the article, the author expresses the importance of this program as well as provides a basic activity that can help teachers increase English usage.
กล่าวถึงการรณรงค์โรงเรียนส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ กิจกรรมนี้จัดหกสัปดาห์ที่เรียกว่าตาอังกฤษ, ถูกสร้างขึ้นสำหรับเด็กปฐมวัยและหน่วยงานประถม แต่เป็นข้อสังเกตที่จะมีความยืดหยุ่นสำหรับระดับชั้นอื่น ๆ ตลอดบทความนี้ผู้เขียนเป็นการแสดงออกถึงความสำคัญของโปรแกรมนี้เช่นเดียวกับให้กิจกรรมพื้นฐานที่สามารถช่วยให้ครูเพิ่มการใช้ภาษาอังกฤษ

Teaching Conversation with Trivia (Volume 40, Issue 2)


In: English Teaching Forum 2002, Volume 40, Number 2Format(s): Text
This article presents reasons for using trivia (a quizzing game) to teach conversation and provides tips on how trivia-based materials fit into communicative language teaching approaches. It also presents examples of trivia-based activities that can be used in the conversation classroom. The article suggests that using trivia-based materials makes the content more interesting, meaningful, and thus motivating for learners.
บทความนี้แสดงเหตุผลสำหรับการใช้เกมส์ (เกม quizzing) สอนการสนทนาและมีเคล็ดลับเล็กน้อยตามพอดีกับวิธีการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร นอกจากนี้ยังนำเสนอตัวอย่างของกิจกรรมเล็กน้อยตามที่สามารถจะใช้ในห้องเรียนการสนทนา บทความแสดงให้เห็นว่าการใช้วัสดุทำให้เนื้อหาน่าสนใจมากขึ้นและมีความหมายและทำให้การสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้เรียน

Lessons from the Other Side of the Teacher’s Desk: Discovering Insights to Help Language Learners



In: English Teaching Forum 2011, Volume 49, Number 1Format(s): Text
An EFL instructor shares ideas on classroom practice after participating in an intensive language program. The author discusses L1 use in the classroom as well as the importance of pronunciation instruction. The article also includes tips on acquiring vocabulary and reasons why pair and group work are good. Finally, the author considers how to support students who may be experiencing communication anxiety as they learn a new language. The article emphasizes a communicative approach and the importance of a friendly classroom environment.
จะใช้รูปแบการสอนแบบเร่งรัดกล่าวคือใช้ในห้องเรียนเช่นเดียวกับความสำคัญของการเรียนการสอนการออกเสียง บทความนี้ยังรวมถึงเคล็ดลับในการเรียนรู้คำศัพท์ซื้อและเหตุผลที่ทั้งคู่และกลุ่มงานที่ดี ในที่สุดผู้เขียนจะพิจารณาว่าจะสนับสนุนนักเรียนที่อาจจะประสบความวิตกกังวลการสื่อสารที่พวกเขาเรียนรู้ภาษาใหม่ บทความเน้นวิธีการสื่อสารและความสำคัญของสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เป็นมิตร

Using Original Video and Sound Effects to Teach Englis


In: English Teaching Forum 2012, Volume 50, Number 1Format(s): Text
This article outlines a lesson plan for teaching modals of speculation that express degrees of certainty, using audio-visual techniques. It identifies the teacher's lesson preparation, required materials, and specific ways to engage students in the special interactive environment. It highlights the effectiveness of audio-visual resources to represent and illustrate abstract concepts. The article also provides ideas for variations of the lesson plan, employing video and sound effects to teach grammar, vocabulary, and creative writing.
บทความนี้แสดงแผนการสอนสำหรับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคภาพและเสียง จะระบุการเตรียมสอนของครู วัสดุที่จำเป็นและวิธีการเฉพาะเพื่อดึงดูดนักเรียนในสภาพแวดล้อมแบบโต้ตอบพิเศษ มีประสิทธิภาพของทรัพยากรภาพและเสียงที่จะเป็นตัวแทนและแสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่เป็นนามธรรม บทความนี้ยังให้ความคิดสำหรับรูปแบบของแผนการสอนจากผลวิดีโอและเสียงในการสอนไวยากรณ์คำศัพท์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์

Teaching English : How to Teach Basic Conversational English

Teaching English : Creating Survey Questions

Teaching English : Write College Research Papers